>>>>สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล็อก นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา แบบย่อๆครับ<<<<

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รายงานตัวครับ  


                                สวัสดีครับ ผมนาย ทศวรรษ พันธ์ชาติ ชื่่อเล่น ออฟ อายุ 20ปี
                                         กำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
                                สาชาวิชา     คอมพิวเตอร์ศึกษา ค.บ 2 หมู่ที่2 รหัส 554144124
                                       คณะ     วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี




 นวัตกรรมนวัตกรรมการศึกษา
          ความหมายของนวัตกรรมและนวัตกรรมการศึกษา
                นวตกรรม หรือ นวกรรม  มาจากคำว่า

                “นว”      หมายถึง   ใหม่

                “กรรม”  หมายถึง  การกระทำ

                เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวตกรรม หรือนวกรรม จึงหมายถึงการกระทำ ใหม่ ๆ ซึ่งในที่นี้มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้
                ทอมัส  ฮิวช์ (Thomasl Hughes, 1971 อ้างถึงใน  ไชยยศ  เรืองสุวรรณ. 2521 : 13) ได้ให้ความหมายของ คำว่า นวกรรมว่า “เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆมาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention)  พัฒนาการ (Development)  ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)  แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และเรียกว่า  นวกรรม (Innovation)”


                มอตัน (Morton, J.A. อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 13) ได้ให้นิยามของนวกรรมไว้ในหนังสือ Organising for Innovation  ของเขาว่านวกรรม หมายถึงการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal  ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมาดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ


                ไชยยศ  เรืองสุวรรณ (2521 : 14)  ได้กล่าวไว้ว่า นวกรรม หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมา หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนามาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น


                วสันต์  อติศัพท์ (2523 : 15) กล่าวไว้ว่า นวกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง “นว” และ “กรรม”  ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เช่น นวกรรมทางการแพทย์ หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ตลอดจนแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน นวกรรมการศึกษาก็หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา

                โดยสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา


                                ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้

ประการที่1 เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ 

ประการที่2 เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ 

ประการที่3 เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 

ประการที่4 เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง

ประการที่5 เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา

ประการที่6 เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 

            กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ


                                                      กิจกรรมการเรียนการสอน
      1. รูปแบบการสอนเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (blended learning) ระหว่าง การเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ(Face-to-Face or Traditional Classroom) กับ การเรียนการสอนบนออนไลน์โดยใช้เว็บบล็อก(Online Learning with Weblog)โดยใช้อัตราส่วน 39% - 79%
 
 
    2. เทคนิควิธีสอน
             2.1 การบรรยายประกอบสื่อการเรียนการสอน
             2.2 การมอบหมายงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
             2.3 การทำงานเป็นกลุ่มด้วยการแสดงความคิดเห็น
      - การซักถาม
      - การอภิปราย
      - การทำแบบฝึกหัด
      - การแสดงผลงาน

                                การบูรณาการกับความพอเพียง
             ความมีเหตุผล
             ความพอประมาณ
             ภูมิคุ้มกันในตนเองที่ดี
                - เงื่อนไขความรู้ : รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
                - เงื่อนไขคุณธรรม : ซื่อสัตย์ แบ่งปัน 


                                                 
                                           คุณลักษณะที่พึงประสงค์
          ผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้จะต้องเป็นผู้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์สำคัญได้แก่ ความซื่อสัตย์ โดยแสดงออกอย่างบูรณาการอย่างสัมพันธ์กับพฤติกรรมต่างๆไปพร้อมๆกับกิจกรรมการเรียนการสอนทุกขั้นตอน เช่น
          - ความรับผิชอบและตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
          - มีความรักความสามัคคีในกลุ่มผู้เรียนร่วมวิชาเอกเดียวกันและวิชาเอกอื่นๆ
          - ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์
          - ใฝ่ดี ใฝ่รู้ สู้งาน
          - มีความคิดสร้างสรรค์
          - มีระเบียบวินัยในการแต่งกาย
          - สุภาพ เสรีภาพ อ่อนน้อม และให้เกียรติผู้อื่น



                                                          แหล่งเรียนรู้
                                      1.
 ห้องสมุด
                                      2.
 อินเตอร์เน็ต
                                      3.
 เอกสารประกอบการสอน
                                      4.
 ตัวอย่างเว็บบล็อก
                                      5.
 สื่อของจริง ของตัวอย่าง
                                      6.
 ชุมชนท้องถิ่น



                                การวัดและประเมินผล


 1. การวัดผล

      1.1 การเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน(คุณลักษณะที่พึงประสงค์) 10 %
      1.2 เอกสารรายงาน การแสดงความคิดเห็นและการประเมิน (รายบุคคล) 10 %
      1.3 เว็บบล็อก (รายบุคคล) 20 %
      1.4 เว็บบล็อก (กลุ่ม) 20 %
      1.4 การนำเสนอผลงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับการเรียนการสอน 20 %
     1.5 สอบปลายภาค 20 %

   2. การประเมินผล

          ระดับคะแนน 80 – 100 ค่าระดับคะแนน A
          ระดับคะแนน 75 – 79 ค่าระดับคะแนน B+
          ระดับคะแนน 70 – 74 ค่าระดับคะแนน B
          ระดับคะแนน 65 – 69 ค่าระดับคะแนน C+
          ระดับคะแนน 60 – 64 ค่าระดับคะแนน C
          ระดับคะแนน 55 – 59 ค่าระดับคะแนน D+
          ระดับคะแนน 50 – 54 ค่าระดับคะแนน D
          ระดับคะแนน 0 – 4 ค่าระดับคะแนน E